top of page

บพค.ร่วมพัฒนากำลังคนเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

อัปเดตเมื่อ 5 ธ.ค. 2565

บพค. ร่วมกับ depa และหน่วยงานพันธมิตร 15 หน่วยงาน ลงมือช่วยกันร่วมพัฒนากำลังคน

(Human resources, Brainpower) ให้กับประเทศ ไทย ให้เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้แนวใหม่ ในยุคดิจิทัล



เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


บพค. ร่วมกับ depa และหน่วยงานพันธมิตร ได้มีการจัดพิธีลงนามความร่วมมือ ภายใต้ MOU เรื่อง การพัฒนากำลังคน (Human resources, Brainpower) และพัฒนา Smart Lifelong Learning (Upskill, Reskill, New Skill) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ(Smart City) และ Creative Economy ในเชิงพื้นที่ให้ครอบคลุมอย่างยั่งยืน

โดยมี นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง เป็นประธานในพิธี และผู้บริหารดับสูงของกระทรวง DE ร่วมเป็นเกียรติในพิธี สืบเนื่องจากนโยบายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลรับนโยบายดังกล่าวมาพัฒนาจึงเห็นควรร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน จำนวน 15 หน่วยงาน ดังนี้


  1. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

  2. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

  3. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

  4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  5. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  6. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  7. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  8. The Asia Foundation

  9. บริษัท มิราเคิล อินสไปร์ จำกัด (Miracle Inspire Co.,Ltd.)

  10. บริษัท เทลลี่ 360 จำกัด

  11. บริษัท สยามอินโนซิตี้ จำกัด (Siam Inno City Co.,Ltd.)

  12. บริษัท โค้ด คอมแบท (เอสอีเอ) จำกัด (Code Combat (SEA) Co.,Ltd.)

  13. บริษัท พอลีฟนัมเบอร์ ๙ จำกัด (Getbeat.Asia)

  14. บริษัท ไซเบอร์เร็กซ์ ดีไซน์ จำกัด

  15. บริษัท เซเบิล จำกัด


ทุกหน่วยงานมีเป้าหมายเพื่อพัฒนากำลังคนและพัฒนาเพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาองค์ความรู้ให้กำลังคนให้มีความสามารถตรงตามต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ได้ โดยมีโจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรม และยังมีการสร้าง Ecosystem ในการเข้าถึงการเรียนรู้เข้าสู่สายวิชาชีพได้แบบก้าวกระโดดในระยะเวลาอันสั้น โดยปลดล๊อคข้อจำกัดทางด้านเวลา สถานที่ และช่วงวัย และเปิดโอกาศให้เข้าถึงเรียนรู้ได้ทั้งกำลังคนในประเทศไทย และกำลังคนในกลุ่มเทศที่เป็นสมาชิก APEC ปัจจุบัน APEC มีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ มีประชากรรวมกันประมาณ 2,500 ล้านคน (ประมาณ ร้อยละ 42 ของประชากรโลก) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติรวมกันกว่า 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2544 และการค้าระหว่างประเทศกว่า ร้อยละ 69 ของไทยเป็นการค้ากับสมาชิกเอเปค ดังนั้นการพัฒนากำลังคนที่ตรงกับอุตวสาหกรรมเป้าหมาย จึงเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย และกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก APEC ได้อีกทาง


——————————— สำนักงานคณะประสานงานคลัสเตอร์ บพค. Website : www.pmub-cluster.org LINE OA : https://lin.ee/UPOy6mt

ความคิดเห็น


bottom of page